การขายไฟคืนการไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์
การขายไฟคืนการไฟฟ้า คุ้มไหม ไปดูพร้อมกันกับเราค่ะ
ในปัจจุบัน พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่ามาก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และสามารถผลิตไฟฟ้าได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (SPP) ในราคาที่สูงกว่าค่าไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป
การขายไฟคืนด้วยไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ โดยสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินความต้องการใช้ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ในราคาที่สูงกว่าค่าไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป
การขายไฟคืนการไฟฟ้า ขายไฟฟ้าคืนการไฟฟ้า มีอะไรบ้าง
*สมัครใช้งานระบบ PPIM เลือกหมายเลข CA กรอกรายละเอียดต่างๆ และอัพโหลดเอกสารตามที่การไฟฟ้ากำหนด
*รอพิจารณาเอกสาร : รอการแจ้งผลให้ยื่นขอขายไฟผ่านทางอีเมล์
*การเตรียมเอกสารที่จำเป็น :เอกสารสำคัญของผู้ยื่นคำร้อง ใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า หนังสือมอบอำนาจ หนังสือบริคณห์สนธิ โดยการไฟฟ้าจะจะประกาศผลคัดเลือก ภายใน 45 วัน โดยจะประกาศในวันที่ 2 และ 4 ของเดือน
*ยื่นคำร้องขอขายไฟฟ้าคืน: สามารถยื่นคำร้องได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในพื้นที่ที่ผู้ยื่นคำร้องอาศัยอยู่ กรอกแบบคำร้องขอขายไฟฟ้าคืน แบบเอกสารที่จำเป็น ชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้อง และเมื่อผ่านการคัดเลือกพร้อมด้วยเอกสารประกอบตามที่การไฟฟ้ากำหนด ที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใน 30 วัน
*รอการตรวจสอบเอกสาร: กฟภ. หรือ กฟน. ตรวจสอบเอกสารที่ผู้ยื่นคำร้องยื่นมา จะออกหนังสือรับรอง และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบ ผู้ผ่านการัดเลือกลงนามซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 270 วัน
*เริ่มขายไฟฟ้าคืน: เมื่อติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ2ทิศทางแล้ว ผู้ยื่นคำร้องสามารถเริ่มขายไฟฟ้าคืนให้กับ กฟภ. หรือ กฟน. ได้ โดยที่ กฟภ. หรือ กฟน. จะจ่ายค่าไฟฟ้าคืนในกับผู้ยื่นคำร้องตามอัตราที่กำหนดไว้
** *ค่าใช้จ่ายในการยื่นขอ ขายไฟ/ไฟฟ้าคืนการไฟฟ้า ราคาจะอยู่ที่ 2,000 บาท (ไม่รวมภาษี) และคุณจะสามารถขายไฟฟ้าได้หน่วยละ 2.20 บาท
คุณสมบัติของผู้ที่ขายไฟคืนการไฟฟ้า
*เป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์
*มีระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ
*มีระบบวัดปริมาณไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน
*มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
*มีความพร้อมในการขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
ขั้นตอนการยื่นขายไฟฟ้าคืน
*ขั้นตอนเริ่มจากการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า Online ลงทะเบียนที่ https://myenergy.mea.or.th/ หรือ https://ppim.pea.co.th/
*ยื่นเอกสารที่จำเป็นตามที่การไฟฟ้ากำหนด: รอประมาณ 7-10 วัน และตรวจสอบ Capacity ขนาดพิกัดของหม้อแปลงว่าสามารถรับกำลังในการระบบโซล่าเซลล์ได้หรือไม่
*รอการแจ้งผล: ตั้งแต่การยื่นคำร้องในการขายไฟฟ้า ผู้ผ่านการคัดเลือกนั้น จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน และต้องรอชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับว่าเขตของคุณนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดว่าเท่าไหร่
*การกำหนดวันจ่ายเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD): หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะทำการนัดหมายตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้าและทดสอบการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า
PEA ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการขายไฟฟ้าคืนไว้ดังนี้
*ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็น ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้าน ของ PEA เท่านั้น
*โครงการไฟฟ้าคืนเปิดรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยที่มีกำลังผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ เชื่อมต่อแบบ 3 เฟส ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ ถ้าเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส
*ต้องเป็นผู้ลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เท่านั้น
*ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยเข้าร่วมโครงการขายไฟฟ้าคืนจะได้รับค่าไฟฟ้าคืนในอัตราที่การไฟฟ้ากำหนด และจะเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ในราคา 2,000 (ยังไม่รวมภาษีอื่นๆ)
*PEA รับซื้อไฟฟ้าคืนมีระยะเวลา 10 ปี หรือ 2.2 บาท /หน่วย
*ตรวจสอบรายชื่อ หรือรับเสนอ ผ่านเว็บไซต์ https://ppim.pea.co.th
รายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา และประกาศผล ภายใน 45 วันนับจากวันที่ยื่นคำขอ ได้ที่ https://ppim.pea.co.th/project/solar/list
MEA ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการขายไฟฟ้าคืนไว้ดังนี้
*สมัครเข้าร่วมโครงการผ่านทางเว็บไซต์ https://myenergy.mea.or.th
*โครงการขายไฟฟ้าคืน MEA เปิดเฉพาะผู้ที่ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านหรืออาคารของตนเอง ในเขตจำหน่ายของ MEA กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ
*MEA หน่วยงานกระทรวงมหาดไทย มีโครงการขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ รับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/หน่วย
*ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้องมีขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์
*คุณภาพโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ของ MEA มีดังนี้
ติดพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ภายในอาคาร
MEA ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านอยู่อาศัยอาคารหรือสถานประกอบการเป็นหลัก โดยการยื่นแบบคำขอเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ MEA การใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า การปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ในปัจจุบัน
การขายส่วนที่เหลือให้ MEA โครงการ Solar ในภาคประชาชน
คือการจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้า ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา แบบที่อยู่อาศัย ต้องเป็นผู้ใช้รายย่อย ตามประกาศอัตราไฟฟ้าของ MEA ที่ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา ที่ใช้เองเป็นหลัก ในส่วนที่เหลือ ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลา 10 ปี ของ MEA
**การขายไฟคืนด้วยไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างรายได้และช่วยลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป ยังช่วยลดการพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจก การติดโซล่าเซลล์ เพื่อใช้ไฟในเวลากลางวันอย่างเต็มที่และสามารถขายไฟฟ้าคืน อาจจะใช้เวลานานหน่อยในการคือทุนภายใน 7-8 ปี คุ้มค่าต่อคุณแน่นอน
สนใจศึกษาข้อมูลและรายการเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ :
การไฟฟ้านครหลวง (MEA) : https://myenergy.mea.or.th/
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) :https://ppim.pea.co.th